ผู้เขียน หัวข้อ: การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เริ่มง่าย ๆ ได้ที่ตัวเราเอง  (อ่าน 81 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 378
    • ดูรายละเอียด
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เริ่มง่าย ๆ ได้ที่ตัวเราเอง


การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา หันมาดูแลสุขภาพร่างกาย เพราะโรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย

ปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวนมากขึ้น การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา หันมาดูแลสุขภาพร่างกาย เพราะโรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อส่วนศีรษะซึ่งเป็นผลเกิดโรคร้ายตามมา ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูงคือ เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และจะเป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้


การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ทำได้ด้วยการรู้จักโรค!

รู้หรือไม่? โรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ผู้มีความเสี่ยงไม่รู้จักวิธีการป้องกันโรคความโลหิตดันสูงหรือไม่ได้รับการเข้าตรวจอย่างสม่ำเสมอ จึงไม่อาจทราบด้วยซ้ำว่าเกิดโรคความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานแล้วและไม่ได้รับการรักษา เปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่ฝังอยู่ในร่างกาย รอวันแสดงอาการ

สำหรับอาการที่อาจพบในผู้ป่วย คือ มีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับและเมื่อมีอาการมากอาจโคม่าจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย


เปิดสาเหตุหลักที่อาจทำให้เกิดโรคความดันสูง

ภาวะความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยร่วมบางอย่างที่ทำให้ความดันโลหิตสูง โดยมากกว่า 90% ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะไม่ทราบสาเหตุ แต่อาจเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ พันธุกรรมและพฤติกรรม และน้อยกว่า 10% ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ เช่น ความดันโลหิตสูงจากการใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิดหรือการเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไต เป็นต้น


6 วิธีการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่ว่าใครก็ทำตามได้

เนื่องจากความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแต่สามารถป้องกันได้ โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ดังนี้


1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ เนื่องจากให้พลังงานน้อย ส่วนอาหารที่ให้พลังงานมากควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เนย น้ำสลัด เนื้อติดมัน เนื้อติดหนัง นมสด ของทอด เช่น ปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ไก่ทอด เค้ก คุกกี้ เป็นต้น
    เลือกอาหารที่มีพลังงานน้อย เช่น ใช้อบหรือเผาแทนการทอด เลือกไก่ไม่ติดหนัง ปลา ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด รับประทานผักให้มากเลือกอาหารที่มีแป้งและใยให้มาก
    ใช้จานใบเล็กและห้ามตักครั้งที่สอง ควรจดรายการอาหารที่รับประทานทุกครั้ง ไม่ควรรับประทานอาหารว่างขณะดูทีวี ไม่ควรงดอาหารมื้อหนึ่งแล้วชดเชยมื้อต่อไ
    เพิ่มการออกกำลังกาย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการทำงานบ้านจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงาน ทำให้น้ำหนักลด


2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

วิธีการออกกำลังกายใช้รออกแบบ aerobic exercise มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่นการเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน

    ความถี่ของการออกกำลังกาย 3 – 5 วัน/สัปดาห์
    ระยะเวลาที่ออกกำลังกาย 20 – 60 นาที
    ความหนักของการออกกำลังกายอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 60% – 90% ของอัตราเต้นเป้าหมาย


3. เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ

การลดอาหารเค็มจะช่วยป้องกันและลดความดันโลหิตได้ โดยทั่วไปห้ามกินเกลือเกิน 6 กรัมหรือ 1 ช้อนชา (เท่ากับ โซเดียม 2400 มิลลิกรัม) แต่แนะนำให้รับประทานเกลือ 1500 มิลลิกรัมเทียบเท่าปริมาณเกลือ 4 กรัมหรือ 2/3 ช้อนชา ไม่ควรปรุงรสอาหารก่อนชิมอาหาร หากปรุงรสอาหารเองต้องเติมเกลือให้น้อยที่สุด ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ปลาเค็ม ไข่เค็ม ผักดอง กะปิ เต้าเจี้ยว ไตปลา เต้าหู้ยี้ ผงชูรส เป็นต้น


4. จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์

จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ จากการศึกษาพบว่าปริมาณสุราที่ดื่มจะมีส่วนสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิต สำหรับผู้ที่ดื่มสุราปริมาณปานกลาง ระดับความดันโลหิตจะลดลงในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะกลับสู่ปกติ สำหรับผู้ที่ดื่มสุราอย่างมาก (ประมาณ 5 เท่าของที่แนะนำ) จะพบว่าระดับความดันโลหิตจะสูงหลังจากหยุดสุรา

ดังนั้นจะพบว่าหลังจากดื่มสุรามากในวันหยุดจะมีความดันสูงในวันทำงาน การลดสุราจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง ผู้ชายให้ดื่มไม่เกิน 2 drink (20 – 30 g ethanol per day) ผู้หญิงไม่เกิน 1 drink (10 – 20 g ethanol per day) 1 drink เท่ากับ วิสกี้ 45 มิลลิลิตร ไวน์ไม่เกิน 150 มิลลิลิตรและเบียร์ไม่เกิน 300 มิลลิลิตร


5. งดสูบบุหรี่

เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด


6. จัดการเรื่องความเครียด

ควรมีการผ่อนคลายความเครียดเช่น ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ทำได้ง่ายช่วยร่างกายแข็งแรงขึ้น

ทั้งนี้หากปฏิบัติตัวตามวิธีการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอย่างเป็นประจำแล้ว จะช่วยให้ร่างกายดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่หากพบว่ามีอาการใดอาการหนึ่งตามข้อมูลข้างต้นที่อาการไม่ดีขึ้นหรือตรวจพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงควรเข้ารักษากับแพทย์ เพื่อรักษาคู่กับการทานยาและติดตามอาการอย่างต่อเนื่องเพราะโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย แต่สามารถควบคุมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้


 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google