ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ทันความเสี่ยง โรคติดเชื้อที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระวัง!  (อ่าน 194 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 429
    • ดูรายละเอียด
รู้ทันความเสี่ยง โรคติดเชื้อที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระวัง!

แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี
อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ

    “ผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบภาวะโรคติดเชื้อได้บ่อยขึ้น แสดงอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป ต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่าปกติ และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดมากขึ้น”

โรคติดเชื้ออันตรายอย่างไรกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน?

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะสามารถเกิดการติดเชื้อในร่างกายได้ง่ายกว่าปกติ โดยจากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบภาวะโรคติดเชื้อได้บ่อยขึ้น เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มากกว่าบุคคลทั่วไป 3-5 เท่า เมื่อเกิดการติดเชื้อแล้ว จะมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงมากกว่า และเพิ่มความเสี่ยงอาการปอดอักเสบมากยิ่งขึ้น จากเชื้อไข้หวัดใหญ่และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย หากผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดการติดเชื้อก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด และเมื่อเกิดการติดเชื้อได้ง่าย จะทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลหรือพักรักษาตัวนานมากกว่าคนทั่วไป

โรคติดเชื้ออะไรบ้าง ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระวัง?!

ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระวังความเสี่ยงในการเกิดภาวะติดเชื้อ โดยโรคติดเชื้อที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระวัง แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้

1. โรคติดเชื้อที่มีภาวะติดเชื้อเฉพาะที่ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยภาวะติดเชื้อเฉพาะที่สามารถแบ่งออกได้เป็นตามอวัยวะ หรือระบบต่างๆ ของร่างกาย

    ภาวะติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่ การติดเชื้อบริเวณเท้า และการติดเชื้อบริเวณอื่นๆ

    ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีภาวะติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณเท้า หรือเรียกว่า Diabetic Foot หมายถึง โรคติดเชื้อที่เท้าซึ่งเกิดจากแผลเบาหวาน เกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือดทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด

    โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า

    ภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีการกรองน้ำตาลออกมาทางไต ซึ่งถือเป็นแหล่งอาหารของเชื้อโรค ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

    ภาวะติดเชื้อที่ปอด ในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบอัตราการเกิดปอดอักเสบได้มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรง ซึ่งเกิดได้จากการหายใจเอาเชื้อเข้าไป หรือเกิดจากเชื้อที่มีอยู่ในร่างกายถูกกระตุ้น เนื่องมาจากภาวะน้ำตาลที่สูงขึ้นบวกกับร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด และเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดตามมา

    ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถพบการเกิดภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารและช่องท้องได้มากกว่าคนปกติ เช่น ฝีในตับ ลำไส้อักเสบ อาการเหล่านี้เกิดเป็นผลข้างเคียงจากโรคเบาหวาน ที่ทำให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายอ่อนแอ มีการติดเชื้อในกระแสเลือด เชื้อลามไปเกาะที่ตับจนนำไปสู่การเกิดฝีในตับ ซึ่งอาการดังกล่าว จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และรักษาโดยการฉีดยามากกว่าคนทั่วไป


2. โรคติดเชื้อที่ไม่สามารถระบุอวัยวะได้ / โรคติดเชื้อที่มีแค่อาการไข้ กล่าวคือ ผู้ป่วยมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ ภาวะติดเชื้อเหล่านี้เป็นภาวะโรคติดเชื้อจากไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 ไวรัสตับอักเสบบี อีกกลุ่มจะเป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ทำตัวเหมือนไวรัส หรือการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากบริเวณลำไส้แทบทั้งสิ้น โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงที่จะพบการติดเชื้อเหล่านี้ได้มากขึ้นจากการศึกษาที่ผ่านมาค่ะ

เมื่อเกิดภาวะติดเชื้อผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการอย่างไร ควรสังเกตอาการอะไรเป็นพิเศษมากกว่าผู้ป่วยโรคอื่นๆ ไหม?

วิธีการสังเกตอาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานว่ามีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนในระหว่างที่ตนเองเป็นโรคเบาหวานหรือไม่? ให้สังเกตอาการตนเอง ว่ามีไข้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำมากๆ อาจไม่มีอาการไข้ แต่พบว่ามีอาการหนาวสั่น ขนลุก เจ็บที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ปัสสาวะแสบขัด ไอมากขึ้นกว่าปกติ เสมหะเปลี่ยนสี

หากทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน และถ้ามีอาการเหล่านี้ อย่ารอนาน ควรรีบมาพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือดได้มากกว่าคนทั่วไป


ผู้ป่วยโรคเบาหวานทำไมถึงเสี่ยงเสียชีวิต หากเกิดการติดเชื้อ

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อเกิดภาวะโรคติดเชื้อแล้วจะมีความเสี่ยงเสียชีวิตได้มากกว่าคนปกติ เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักจะมีโรคร่วมอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อัมพาต-อัมพฤกษ์ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกายค่ะ

สำหรับโรคเบาหวาน หากผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี โดยมีระดับน้ำตาลในเลือด (แบบตรวจเลือดจากปลายนิ้ว) มากกว่า 180 มก./ดล. ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เม็ดเลือดขาวจะทำงานได้ไม่ดี ร่างกายเกิดการกำจัดเชื้อได้น้อยลง มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เสี่ยงเสียชีวิตมากกว่าคนปกติได้หลายเท่า!


ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะป้องกันการติดเชื้อได้อย่างไร?

การป้องกันโรคติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถทำได้โดย การคุมเบาหวาน แล้วการคุมเบาหวานทำอย่างไร? สำหรับการคุมเบาหวาน หมายถึง ผู้ป่วยจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี อย่าขาดยา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องปฏิบัติ มาพบแพทย์ตามนัด ควรมียาสำรองไว้ที่บ้านให้เพียงพออย่างน้อยสำหรับ 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ควรควบคุมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) โดยจะต้องไม่เกิน 6.5 mg% สำหรับผู้ป่วยปกติ และไม่ควรเกิน 8 mg% สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ

นอกจากการคุมเบาหวานแล้ว การป้องกันภาวะโรคติดเชื้อที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปฏิบัติ คือ การฉีดวัคซีนค่ะ ซึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานถือเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ โดยสามารถแบ่งวัคซีนได้เป็น 2 ประเภท

    กลุ่มวัคซีนที่จำเป็น ได้แก่ วัคซีนป้องกันโควิด โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับวัคซีนให้ครบโดส หากได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว เมื่อถึงกำหนดรับวัคซีนเข็ม 3 (Booster) แนะนำให้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ตามชนิดของวัคซีนที่ได้รับไปแล้วก่อนหน้า อย่ารีรอ หรืออย่ากลัวที่จะรับวัคซีนค่ะ


    กลุ่มวัคซีนที่ควรฉีดทุกปี อย่างที่หมอได้กล่าวไปข้างต้นนะคะ ว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานหากเกิดภาวะโรคติดเชื้อก็จะมีอาการรุนแรงและเกิดการติดเชื้อได้มากกว่าคนทั่วไป โดยวัคซีนที่ควรฉีดทุกปี คือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Flu) แบบ 4 สายพันธุ์ โดยฉีดปีละ 1 ครั้ง แนะนำฉีดวัคซีนชนิดนี้ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ค่ะ


กลุ่มวัคซีนทางเลือก สามารถแบ่งได้ตามช่วงอายุ ดังนี้ค่ะ

    วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Shingles Vaccine) ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัด เพื่อลดความรุนแรงของโรค หากเป็นงูสวัด พบว่ามีตุ่ม ผื่น ขึ้นที่ร่างกายน้อย และช่วยลดอาการปวดที่บริเวณปลายประสาท เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ นอกจากนี้ ยังช่วยลดความถี่ของการเกิดโรคงูสวัด โดยวัคซีนชนิดนี้ฉีด 1 เข็ม สามารถป้องกันได้ตลอดชีวิต

    วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal Vaccine) วัคซีนชนิดนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ (PPSV23) และ วัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ (PCV13) โดยแนะนำให้ฉีดทั้ง 2 ชนิด โดยเว้นระยะห่างกัน 1 ปี หมอแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนฉีดวัคซีนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป


    วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (DaPT) แนะนำควรฉีดอย่างน้อย 1 ครั้ง และควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักทุก 10 ปี
    วัคซีนป้องกับไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis-B Vaccine) ควรฉีดให้ครบ 3 เข็ม เพื่อป้องกันการเกิดติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยจากการศึกษาพบว่าประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวานหากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จะส่งผลให้มีอาการตับอักเสบ ตับวาย และสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google