โรคความดันโลหิตสูง อาการเป็นยังไง สาเหตุของความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่แรงดันของเลือดที่มีต่อผนังเลือดสูงพอที่อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจต่างๆ ได้ในระยะยาว ความดันโลหิตแปรผันด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่
ปริมาณเลือดที่ถูกปั๊มออกจากหัวใจ
แรงต้านการไหลเวียนของเลือด (กำหนดด้วยความแคบของเส้นเลือด)
ถ้าปริมาณเลือดที่ถูกปั๊มออกจากหัวใจสูงขึ้นจะทำให้ความดันยิ่งสูงขึ้น ถ้าเราเปลี่ยนปั๊มน้ำเป็นตัวที่ใหญ่ขึ้นโดยใช้ท่อขนาดเดิม ยิ่งทำให้แรงดันในท่อสูงขึ้น
ถ้าเส้นเลือดแคบลง จะทำให้เกิดแรงต้านการไหลเวียนของเลือด เหมือนกับแรงดันในระบบการจ่ายน้ำในบ้านเรา ถ้าเราไม่ทำความสะอาดท่อ ปริมาณตะกอนยิ่งมากขึ้น ทำให้ท่อแคบลงและเพิ่มแรงต้านการไหลเวียนของเลือดจนทำให้ความดันสูงขึ้น
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
ซึ่งบางคนที่เป็นความดันโลหิตสูงอยู่หลายปี อาจไม่มีอาการใดๆ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง ในบางรายอาจมีอาการปวดหัว เลือดกำเดาไหล หายใจไม่ทัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีก็ต่อเมื่อมีความดันสูงมากจนอยู่ในเกณฑ์อันตรายและอาจเสียชีวิตได้
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงที่อยู่ 2 แบบได้แก่ primary hypertension คือ ความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติจะพบในเวลาที่เราแก่ตัวลงและ secondary hypertension คือ ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากโรคอื่นๆ หรือผลข้างเคียงของการใช้ยา หรือการใช้ยาเสพติด สำหรับคนที่ตกอยู่ในประเภทนี้ อาจจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน
ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากโรคอื่นๆ
หยุดหายใจขณะหลับ
ปัญหาไต
เนื้องอกในต่อมหมวกไต
ปัญหาไทรอยด์
ความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด
ผลข้างเคียงของการใช้ยา
ยาคุม ยาแก้หวัด ยาระบาย ยาแก้ปวด และอื่นๆ
โคเคน ยาบ้า
การดื่มแอลกอฮอล์
เราสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการป้องกัน
ปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง
อายุ : ความดันโลหิตยิ่งสูง ถ้าอายุมากโดยเฉพาะในผู้ชาย
พันธุกรรม : ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดโรคความดันสูง
น้ำหนักเกินหรืออ้วน : สัมพันธ์กับอัตราการเกิดความดันโลหิตสูงที่เพิ่มสูงขึ้น
การสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นทันทีและสามารถไปทำร้ายผนังเส้นเลือดจนทำให้ผนังเล็กลง
เกลือโซเดียม โพแทสเซียม วิตามินดี : โซเดียม มีหน้าที่กักน้ำไว้ในร่างกายถ้ามีปริมาณน้ำมากเกินจะทำให้มีความดันสูง ควรควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนปริมาณวิตามินดีจะส่งผลต่อเอนไซม์ในไตที่ควบคุมความดันโลหิต
แอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์หนักๆ ในระยะยาว อาจทำให้หัวใจมีปัญหา ผู้ชายควรดื่มไม่เกิน2 แก้วต่อวัน ผู้หญิงไม่เกิน 1 แก้ว ต่อวัน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจขาดเลือด : ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดหัวใจหนาและแข็งขึ้นซึ่งอาจทำให้หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองและอื่นๆ
เส้นเลือดสมองโป่งพอง : ผนังเส้นเลือดอ่อนตัวลง และโป่งพองจนแตกได้
หัวใจล้มเหลว : พอมีความดันสูง หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อปั๊มเลือดไปทุกส่วนของร่างกาย กล้ามเนื้อที่หัวใจจึงหนาขึ้น ในระยะยาวหัวใจอาจไม่สามารถปรับตัวได้อีกจนไม่สามารถปั๊มเลือดไปส่งได้พอเพียง หรืออาจมีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคไตเสื่อม : ทำให้ไตถูกทำลายและ ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
ภาวะเมทาบอลิกซินโดรม: การที่ระบบเผาผลาญมีความผิดปกติหลายอย่าง
ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
ไขมันในเลือดชนิดดี (HDL Cholesterol) ต่ำ
ความดันโลหิตสูง
มีน้ำตาลในเลือดสูง
ทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
มีปัญหาในการจำและทำความเข้าใจ : ทำให้ความสามารถในการคิด จดจำ และเรียนรู้ต่ำลง
ความดันโลหิตสูงสามารถวัดด้วย "เครื่องวัดความดัน" วัดที่ท่อนแขนส่วนบน มี 2 ค่า คือ
ความดันช่วงบน (systolic pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ อารมณ์ ปริมาณการออกกำลังกาย
ความดันช่วงล่าง (diastolic pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว การควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ดังนี้
ความดันโลหิตสูงสำหรับผู้สูงอายุ 150/90 มม.ปรอท
ความดันโลหิตสูงสำหรับคนอายุน้อย 140/90 มม.ปรอท
ความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว 140/90 มม.ปรอท
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงสามารถแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่
การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น
ลดอาหารเค็ม
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เลิกสูบบุหรี่
ควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์
ควบคุมน้ำหนัก
การรักษาโดยการใช้ยา การรักษาความดันโลหิตสูงโดยการใช้ยาจะช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ โดยคนไข้แต่ละคนจะตอบสนองต่อยาชนิดต่างๆ ไม่เหมือนกัน ซึ่งแพทย์จะปรับยาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน
เราสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการรักษาความดันโลหิตสูงโดยการใช้ยาจะช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้