ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: โรคเชื้อราในช่องหู (Otomycosis)  (อ่าน 5 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 428
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: โรคเชื้อราในช่องหู (Otomycosis)

โรคเชื้อราในช่องหู (หูอักเสบจากเชื้อรา) เป็นโรคหูชั้นนอกอักเสบชนิดหนึ่ง

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ แอสเปอร์จิลลัสไนเจอร์ (Aspergillus niger) และแคนดิดาอัลบิแคนส์ (Candida albicans) มักพบหลังเล่นน้ำ หรือใช้ไม้แคะหูร่วมกับผู้ที่เป็นโรคนี้ (เช่น แคะหูตามร้านตัดผม) และอาจพบในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อในหูเรื้อรังและใช้ยาหยอดหูที่เข้ายาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเชื้อราตามผิวหนังหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น


อาการ

มีอาการคันในรูหูมาก อาจมีอาการปวดหูหรือหูอื้อ หรือมีของเหลวไหลออกจากหู


ภาวะแทรกซ้อน

อาจทำให้เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ เยื่อแก้วหูทะลุ

ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน เอดส์) การติดเชื้ออาจลุกลามเข้ากระดูกอ่อนในบริเวณหูหรือฐานกะโหลกได้

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการเมื่อใช้เครื่องส่องหู มักเห็นลักษณะขุย ๆ สีขาว สีดำหรือน้ำตาล ติดอยู่บนผิวหนังในรูหู หูชั้นนอกมีการอักเสบบวมแดง

              บางกรณี แพทย์จะนำของเหลวในหูไปตรวจหาเชื้อต้นเหตุ

การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดในช่องหู ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาโพวิโดนไอโอดีน เช็ดในช่องหูวันละ 3-4 ครั้ง หรือใช้ยาหยอดหูที่เข้ายารักษาโรคเชื้อรา เช่น โคลไตรมาโซล (clotrimazole) หยอดหูครั้งละ 4-5 หยด วันละ 3-4 ครั้ง ถ้ามีการใช้ยาหยอดหูที่เข้ายาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์ ให้หยุดใช้

             ในรายที่รักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล หรือมีการอักเสบรุนแรง แพทย์จะให้กินยาฆ่าเชื้อรา เช่น ไอทราโคนาโซล (itraconazole)

ถ้าไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ หรือเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย แพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุ รวมทั้งตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพราะผู้ป่วยอาจเป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัวอยู่ก่อนก็ได้

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการคันหู ปวดหู มีน้ำเหลืองหรือหนองไหลออกจากหู ควรปรึกษาแพทย์

          เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคเชื้อราในช่องหู ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    งดการลงเล่นน้ำ ดำน้ำ หรือว่ายน้ำในสระหรือแม่น้ำลำคลอง
    งดการเดินทางโดยเครื่องบิน
    หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ใด ๆ สวมใส่หู
    เวลาอาบน้ำ ใช้สำลีหรือวัสดุอุดรูหูป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู

       
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษา 2-3 วันแล้วอาการไม่ทุเลา
    มีไข้สูง หรือปวดหูมากขึ้น
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

    หลีกเลี่ยงการแคะหู ด้วยนิ้วมือ ไม้แคะหู ไม้พันสำลี หรือสิ่งอื่น ๆ
    หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำหรือว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด
    เวลาใช้สเปรย์ผมหรือยาย้อมผม ควรใช้สำลีอุดหู เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระคายเคืองหรือการแพ้
    หลังอาบน้ำ สระผม หรือว่ายน้ำ ควรใช้ผ้าเช็ดบริเวณรอบ ๆ ใบหูให้แห้ง และตะแคงหูลงทีละข้างลงด้านล่าง แล้วเคาะที่ศีรษะเบา ๆ เพื่อให้น้ำระบายออกจากหู ป้องกันไม่ให้มีน้ำค้างอยู่ในช่องหู (ไม่ให้ใช้ไม้พันสำลีแยงหูเพื่อซับน้ำ อาจทำให้เกิดแผลถลอกได้)
    ผู้ที่มีหูอักเสบหรือหลังได้รับการผ่าตัดหู ก่อนจะลงเล่นน้ำหรือว่ายน้ำในสระ ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาว่าสมควรหรือไม่

ข้อแนะนำ

โรคนี้มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ส่วนมากสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 5-7 วัน แต่ถ้ามีอาการกำเริบใหม่ เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หรือพบว่าหูชั้นนอกมีการอักเสบรุนแรง (ปวดหูมาก หนองไหล มีกลิ่นเหม็น หูตึง อาจมีอาการปากเบี้ยว) แพทย์จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุ เช่น ตรวจเลือดว่าเป็นเบาหวาน หรือโรคเอดส์หรือไม่


 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google