LONG COVID เจ็บ…แต่ไม่จบ – ภาวะลองโควิด อาการเรื้อรังที่ตามมาของคนเคยติดเชื้อโควิด-19
โควิด-19 เป็นโรคที่ส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว แม้ว่าจะหายจากการติดเชื้อแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี รู้สึกไม่แข็งแรงเหมือนเดิม นั่นเป็นเพราะว่าระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย
ผลกระทบดังกล่าวสามารถเกิดได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่
ไอเรื้อรัง
อ่อนเพลียมาก
เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
ผมร่วง
จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
สมองล้า ความจำแย่ลง สมาธิสั้น
นอนไม่หลับ
หายใจลำบาก หายใจผิดปกติ
ภาวะซึมเศร้า
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
80% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการใดอาการหนึ่ง โดยอาจมีอาการได้ยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ แม้จะหายจากการติดเชื้อโควิด-19 มานานกว่า 1 เดือนแล้วก็ตาม
(ผลกระทบระยะยาวของการติดเชื้อโควิด-19 เราอาจจะเคยได้ยินในชื่ออื่น ไม่ว่าจะเป็น Long-haul COVID-19, Post-acute COVID-19, Post-COVID-19 Syndrome)
อาการแบบนี้ ตรวจ ATK ด่วนๆ !!!
คุณหมอแนะนำ กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ตรวจ ATK ทันที!
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย หรือไม่ได้ใส่ personal protective equipment (PPE) ตามมาตรฐานตลอดช่วงเวลาที่มีการสัมผัสใกล้ชิด ข้างต้น กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มคนที่มีอาการระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ อาการไข้ ไอ เจ็บคอ ตาแดง ผื่นขึ้น ถ่ายเหลว แสบคอมาก ตรวจ ATK ทันที!
กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ไม่มีอาการ แต่ไปสัมผัสผู้ติดเชื้อ Covid-19 แบบใกล้ชิด
อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน
เรียนหนังสือ หรือทำงานด้วยกัน
คุยกันโดยไม่สวมหน้ากากอนามัยนานเกิน 5 นาที
เดินทางไปเที่ยวด้วยกัน รับประทานอาหารร่วมกัน
ควรตรวจ ATK ภายใน 24 ชั่วโมง หลังเจอผู้ติดเชื้อ กรณีที่ผลตรวจเป็น (-) ควรตรวจทุก 3 วัน คือวันที่ 0 , 3 และ 7 จนครบ 7 วัน โดยในระหว่าง 7 วันนี้ ให้กักตัวอยู่ที่บ้าน หรืออยู่คนเดียวก่อน หากไม่มีอาการและครบกำหนด 7 วันแล้ว สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และสังเกตอาการตนเองต่อจนครบ 10 วัน
วิธีตรวจหาเชื้อโควิดโดย Antigen Test Kit (ATK) ด้วยตัวเอง
โอมิครอน BA.4 / BA.5 สายพันธุ์ที่ต้องจับตา ติดเชื้อง่าย ไวกว่าเดิม โควิดสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 เชื้อกลายพันธุ์ของโอมิครอนที่ต้องเฝ้าระวัง (VOC) และคาดว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการแพร่ระบาดทั่วโลก
รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่มีโรคประจำตัว
ป้องกันตนเอง โดยสวมหน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปในสถานที่แออัด หรืออับอากาศ
หมั่นล้างมือบ่อยๆ หลังสัมผัสสิ่งของ จุดสาธารณะ หรือทุกครั้งที่รู้สึกว่ามือตนเองสกปรก
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: อาการแบบนี้ สงสัย “ลองโควิด” ถามหา อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/covid-19