ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: แนวทางป้องกันความเสี่ยงจาก ไฟดูด ไฟช็อต ในบ้านพักอาศัยที่มีต่  (อ่าน 120 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 429
    • ดูรายละเอียด
เรามาพูดถึงระบบไฟฟ้าในบ้านกันบ้าง ซึ่งตู้ไฟฟ้าในบ้านเรือนนั้นจะเรียกว่า คอนซูมเมอร์ ยูนิท Consumer Unit และมีอุปกรณ์ที่ออกแบบไว้เพื่อความปลอดภัยของคนในบ้านและป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าอยุู่ด้วย Factomart มีซีรีย์ 3 ตอน เพื่อแนะนำให้กับเพื่อนๆ วิศวกรที่บ้านได้มีความรู้และเลือกใช้ พร้อมปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านของท่าน ไว้ป้องกันอันตรายจากระบบไฟฟ้า ดังนี้

    3 แนวทางป้องกันความเสี่ยงจาก ไฟดูด ในบ้านพักอาศัยที่มีต่อคน
    ปรับปรุง ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ในบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับครอบครัวของคุณ
    ติด คอนซูมเมอร์ยูนิต ให้กับบ้านใหม่ จะเลือกอุปกรณ์และเครื่องตัดไฟรั่วอย่างไร

ในบทความนี้เราแนะนำ 3 แนวทางป้องกับความเสี่ยงจากไฟดูดที่เกิดในบ้านของคุณ กระแสไฟเพียงแค่ 30 mA (กระแสสลับ 220 V) สามารถทำอันตรายต่อร่างกายของคุณและถึงขั้นมีอันตรายต่อชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องใช้อุปกรณ์อย่าง เครื่องป้องกันไฟดูด แนวทางและวิธีการติดตั้งเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับตัวเรา ในทางเดียวเราก็ต้องการที่จะเลือกแนวทางที่ถูกต้องและประหยัดที่สุด เรามาต้องดูกันครับ


ไฟดูด หรือเรียกอีกอย่างว่า ไฟช็อต คือการที่มีกระแสไฟฟ้าที่ใหลผ่านร่างกายของคน กระแสไฟฟ้าที่ใหลผ่านร่างกายจะสร้างความเสียหายและเป็นอันตรายอย่างมาก กระแสเล็กน้อยของระบบไฟฟ้า AC ก้อเป็นอันตรายอย่างยิ่งแล้ว ผลวิจัยทั่วโลกบ่งชี้ว่าระดับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าสู่ร่างกาย คือสิ่งกำหนดความรุนแรงของอุบัติเหตูจากไฟดูด จากไดอะกรัมด้านล่างเราเห็นได้ว่ากรแสที่มากกว่า 40mA (AC ซึ่งน้อยมาก) ก้อเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้แล้ว

แนวทางป้องกันความเสี่ยงที่มีต่อคน

    ใช้ฉนวนป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้ามีฉนวนป้องกันการสัมผัสจากผู้ใช้งาน
    ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว อุปกรณ์ที่ใช้กันไฟดูด-ไฟช็อตจะเรียกรวมๆว่า Residual-Current Device (RCD)
    ติดตั้งสายดิน ให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นที่มีโครงสร้างโลหะ

ความเสี่ยงที่มีแก่อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า

ความเสียหายของอุปกรจะเกิดจากความผิดปกติของระบบทีมีได้หลายอย่างแต่ที่เห็นผลในบ้านและทำการป้องกันได้มีดังนี้

    ไฟฟ้าเกิน Overload
    ไฟฟ้าวัดวงจร Short-circuit
    ไฟกระชากจากฟ้าผ่า Lighting Surge

3.1.8 การป้องกันไฟฟ้าดูดโดยใช้เครื่องตัดไฟรั่วในที่อยู่อาศัยและที่คล้ายคลึงกัน
วงจรย่อยต่อไปนี้นอกจากมีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและติดตั้งตามบทที่ 4 แล้ว ต้องมีการป้องกัน
โดยใช้เครื่องตัดไฟรั่ว ขนาด Irn ไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์ เพิ่มเติมด้วย คือ

    ก) วงจรเต้ารับในบริเวณห้องน้ำห้องอาบน้ำโรงจอดรถยนต์ ห้องครัว ห้องใต้ดิน
    ข) วงจรเต้ารับในบริเวณ อ่างล้างชาม อ่างล้างมือ (บริเวณพื้นที่เคาน์เตอร์ที่มีการติดตั้ง
    รับภายในระยะ 1.5 เมตร ห่างจากขอบด้านนอกของอ่าง)
    ค) วงจรไฟฟ้าเพื่อใช้จ่ายภายนอกอาคาร และบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่อยู่ในตำแหน่งที่บุคคล
    สัมผัสได้ทุกวงจร
    ง) วงจรเต้ารับในบริเวณชั้นล่าง (ชั้น 1) รวมถึงในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินที่อยู่
    ในพื้นที่ปรากฎว่าเคยมีน้ำท่วมถึงหรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง
    จ) วงจรย่อยสำหรับ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อน อ่างอาบน้ำ
    หมายเหตุ ตำแหน่งที่สัมผัสได้ หมายถึงอย่หู ่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตร
    ในแนวดิ่ง หรือ 1.5 เมตร ในแนวระดับและบุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ตั้งใจ


3 แนวทางป้องกันความเสี่ยงที่มีต่อคน

1. ใช้ฉนวนป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้ามีฉนวนป้องกันการสัมผัสจากผู้ใช้งาน

ถ้าคุณได้สัมผัสกับกระแสไฟฟ้าโดยตรง กระแสจะสามารถไหลผ่านตัวคุณ เราจะจึงเลือกวัสดุที่เป็นฉนวนมีความต้านทานของระบบไฟฟ้ามาอยู่ระหว่างเรากับสายไฟ วัสดุที่ทำจากยางและพลาสติกและมีการความต้านทานต่อไฟฟ้ามากกว่าและดีกว่าเหล็กที่ทาสี

อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดมีอายุการใช้งานหลายปี ดังนั้นฉนวนจึงต้องมีความทนทานต่อการใช้งานในลักษณะต่างๆ เช่น จากการกระแทก การดึง รวมทั้งต้องทนทานต่ออุณหภูมิและความชื้น
มาตรฐาน IP ขั้นต่ำที่แนะนำในแต่ละส่วนของบ้านพักอาศัย ได้แก่

Schneider Electric มุ่งมั่นที่จะมอบผลิตภณัฑ์ที่มีคุณภาพสูงโดย

    เลือกใช้วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูงสามารถทนทาน ต่ออุณหภูมิและความชื้น และต่อการใช้งาน
    ในลักษณะต่างๆทั้งการกระแทกและการดึงได้ดี
    ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมาตรฐานระดับสากล
    ซึ่งสามารถเห็นได้จากเครื่องหมายรับรองบนอุปกรณ์ต่างๆ


IP Rating คืออะไร?

มาตรฐาน IP หรือ (Ingress Protection) แสดงถึงระดับการป้องกันของอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งต่อการล่วงล้ำของสิ่งแปลกปลอมต่างๆ รหัสประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก โดยที่เลขแต่ละหลักจะบ่งชี้ระดับการป้องกันตั้งแต่ 0 ถึง 9

    ตัวเลขหลักแรก แสดงถึงอัตราของระดับการป้องกันการล่วงล้ำของแข็ง อาทิเช่นฝุ่น
    ตัวเลขหลักที่สอง แสดงถึงอัตราของระดับการป้องกันการล่วงล้ำของของเหลวรูปแบบต่างๆ


2. ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว RCD

เครื่องตัดไฟรั่ว ทำงานโดยการเปรียบเทียบระดับกระแสไฟฟ้าทางสายนิวทรอลและสายไลน์ ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีค่าเท่ากัน
หากว่าระดับของกระแสไฟฟ้านั้นต่างกันเกินกว่า 30mA นั้นหมายถึงมีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้น อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด จะตัดวงจร
โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่มิลลิวินาที จึงช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรืออันตรายแก่ชีวิต อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องตัดไฟรั่ว

เครื่องตัดไฟรั่วนั้นจำเป็นต้องทำงานควบคู่กับสายดิน (Ground) ในระบบ ถ้าบ้านหลังไหนไม่มีกราวด์ อย่างแรกที่เราแนะนำ คือหาคนที่ติดตั้งกราวด์ ที่เราจะพูดถึงด้านล่าง

ตัวอย่างการติดตั้ง เครื่องป้องกันไฟดูด เราต้องการที่จะติดตั้งเครื่องป้องกันไฟดูดกับโหลดที่มีโอกาสที่เราจะแตะต้องได้และอาจมีกระแสไหลผ่านตัวเรา สำหรับโหลดที่เราไม่ค่อยได้ไปแตะต้อง ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องป้องกันไฟดูด คุณจะเห็นได้จากรูปว่าโหลดระบบแสง ระบบความปลอดภัย ระบบเตาในครัว ระบบระบายอากาศและระบบปรับอากาศ นั้นมีโอกาสน้อยที่เราจะไปสัมผัสมันเข้า

สำหรับการติดตั้ง คอนซูมเมอร์ ยูนิท ในงานใหม่ๆ เราแนะนำ คอนซูมเมอร์ ยูนิท แบบ split bus ซึ่งเป็นการติดตั้งที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพที่สุด เนื่องจากเราได้แยกเป็น 2 วงจร วงจรหนึ่งสำหรับโหลดที่ตัวคนไม่ได้สัมผัส และอีกวงจรที่ตัวคนจะไปสัมผัสได้ ตัวอย่างในรูปด้านบน แนวทางในการเลือก คอน ใหม่ สามารถติดตามได้ในบทความ “ติด คอนซูมเมอร์ยูนิต ให้กับบ้านใหม่ จะเลือกอุปกรณ์และเครื่องตัดไฟรั่วอย่างไร”

สำหรับบ้านที่มีระบบติดตั้งอยู่แล้ว และต้องการที่จะปรับปรุง มีทางเลือกหลักๆ อยู่ 2 วิธี คือ เปลี่ยนตัวเมนให้เป็นกันดูด ซึ่งเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่มีข้อเสียตรงที่ว่าหากเกิดมีไฟรั่วเกิดขึ้นในจุดใดจุดหนึ่ง ระบบไฟฟ้าทั้งบ้านจะดับหมด และวิธีที่ 2 คือใส่ตัวกันดูดเข้าไปแทนที่เซอร์เบรกเกอร์ตัวย่อย สำหรับวงจรที่ต้องการป้องกัน ถ้าหากมีวงจรป้องกันอยู่มาก มันจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า เนื่องจากเครื่องป้องกันไฟดูดที่เป็นวงจรย่อยนั้นมีราคาที่สูงกว่าตัวหลัก แพงกว่า 2 – 3 เท่าด้วยกัน สามารถที่จะติดตามบทความ “ปรับปรุง ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ในบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับครอบครัวของคุณ”


เซอร์กิต เบรกเกอร์ลูกย่อย ป้องกันไฟรั่ว/ไฟดูด

เซฮร์กิต เบรกเกอร์ลุกย่อยชนิด RCBO QOvs ชนิด 1 Pole ตรงตรามาตรฐาน IEC 61009 และ มอก.909-2548 ชนิด 1 Pole พิกัดทนกระแสลัดวงจร (IC) 6kA และ โหลดเซนเตอร์


เมนเซอร์กิตเบกเกอร์ป้องกันไฟรั่ว/ดูด

ตรงตามมาตรฐาน IEC 61009 และ มอก 909-2548 ชนิด 2 Pole พิกัดทนกระแสไฟฟ้าลัดวงจร (IC) 10kA, 240 VAC สามรถใช้ติดดั้งคู่ดับตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตและสามารถป้องกันได้ทั้งบ้าน

ตรวจเช็คอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด

ตราบใดที่อุปกรณ์ป้องกันไฟดูดตัดวงจร เมื่อกดปุ่มทดสอบ ผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถมั่นใจได้ว่ากำลังได้รับการคุ้มครองโดยระบบป้องกันภัยการตรวจเช็คอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด ทุกๆ 3-6 เดือน จะช่วยให้ทราบถึงข้อบกพร่อง ของอุปกรณ์ RCD ได้แต่เนิ่นๆ


3. ติดตั้งสายดิน ให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นที่มีโครงสร้างโลหะ

เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หรือเครื่องปรับอากาศ สายตัวนำไฟฟ้าจะอย่ภูายในทำให้ปลอดภัยจากไฟฟ้าดูดในการใช้งานปกติแต่หากว่าฉนวนของสายไฟภายในนั้นฉีกขาดหรือชำรุด เมื่อมาสัมผัสกับโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้นได้ การติดตั้งระบบสายดินและต่อสายดินเข้ากับโครงโลหะ จะช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าดูดได้โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสายดิน และ เบรคเกอร์ (MCB) จะตัดวงจรไฟฟ้าโดยทันทีเพื่อป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า (Short-circuit)

เห็นได้ชัดว่าการที่จะทำให้บ้านของคุณปลอดภัย จำเป็นเลยที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่หุ้มฉนวนอย่างดี โดยสามารถที่จะดูดมาตรฐาน IP โดยเฉพาะที่เป็นอุปกรณ์ที่มีพลาสติกหุ้มไว้ และควรติด เครื่องป้องไฟดูด ไฟช็อตไว้สำหรับวงจรของอุปกรณ์ที่เรามีโอกาสไปแตะต้อง สัมผัสมันได้ และต่อสายดินให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะที่มีวัสดุเป็นเหล็ก แล้วไฟฟ้าสามารถรั่วผ่านมาได้

 

บริหารจัดการอาคาร: แนวทางป้องกันความเสี่ยงจาก ไฟดูด ไฟช็อต ในบ้านพักอาศัยที่มีต่อคน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google