ผู้เขียน หัวข้อ: รับสร้างบ้าน: “ผู้รับเหมา” เลือกอย่างไร? ไม่ให้โดนทิ้งงาน!  (อ่าน 228 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 429
    • ดูรายละเอียด
สำหรับคนที่คิดจะสร้างบ้านหลาย ๆ คน คงไม่พ้นเรื่องการหา ผู้รับเหมา ที่ไม่ทิ้งงาน และงานดี แต่จะหายังไงถ้าเราไม่มีผู้รับเหมาที่รู้จักและเชื่อใจได้เลย กลัวจะทิ้งงานไปกลางทาง งานไม่จบไม่พอ ยังต้องมาวุ่นวายหาช่างใหม่ และเสียเงินเพิ่มอีกให้ปวดหัว

รู้จัก ผู้รับเหมา กันสักนิด!

ผู้รับเหมาก่อสร้าง หมายถึง บุคคลที่รับจ้างก่อสร้างอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ โดยวิธีเหมา และสำหรับคำว่าเหมาหากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ การคิดเป็นจำนวนรวม เช่น การรับเหมาก่อสร้างที่รวมทั้งค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง ไว้ในงบประมาณเดียวกัน ซึ่งสะดวกสบายต่อผู้ว่าจ้าง คุ้มค่า และไม่ต้องกังวลว่าจะเสียเปรียบเหมือนกับจ้างรายวัน

สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

    ผู้รับเหมาที่ดำเนินการในรูปแบบบริษัทรับสร้างบ้าน มีบทบาทหน้าที่หลักในการรับสร้างบ้านอย่างชัดเจน
    ผู้รับเหมาที่ดำเนินการในรูปแบบนิติบุคคล มุ่งเน้นการให้บริการสร้างบ้านแบบครบวงจร เช่น มีแบบบ้านมาตรฐานให้เลือก ทำการออกแบบบ้านใหม่ให้ด้วย ที่สำคัญผู้รับเหมากลุ่มนี้ จะเพียบพร้อมไปด้วย วิศวกร สถาปนิก ฝ่ายบริการลูกค้าทั้งก่อนและหลังการขาย หรือเรียกฉายภาพให้ชัดเจนในรูปแบบ บริษัทรับสร้างบ้านนั่นเอง
    ผู้รับเหมาที่ดำเนินการโดยตัวบุคคล กลุ่มนี้จะพบบ่อยในงานสร้างบ้านทั้งหลัง ต่อเติม ซึ่งช่างกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์สูงและมีชื่อเสียงที่ดี

    ผู้รับเหมาก่อสร้าง ถือเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการปลูกสร้างบ้านเช่นกัน เพราะนอกจากความชำนาญ ยังต้องอาศัยประสบการณ์ และความเข้าใจในรูปแบบบ้านที่จะปลูกตามที่ผู้อยู่อาศัยต้องการ


การเลือกผู้รับเหมา เลือกอย่างไร ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

หลายครั้งที่เรามักได้ยินข่าวเรื่อง ผู้รับเหมาก่อสร้างทิ้งงานกลางครัน ทั้ง ๆ ที่งานยังไม่เสร็จเรียบร้อย ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของคนที่อยากจะสร้างบ้านกังวล นั่นเป็นเพราะอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรับรอง หรือว่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเหมือนกิจการประเภทอื่น ส่งผลให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาก็ไม่มีใครการันตีให้ได้

1.    ฟังคำแนะนำจากคนใกล้ตัวที่ไว้ใจได้

ในยุคปัจจุบันนี้ การจะตัดสินใจซื้ออะไร ส่วนมากมักจะมาจากการเข้าไปดูรีวิว หรือจากสินค้าที่มีผู้ให้ความนิยมเยอะ ๆ แต่ไม่ใช่วิธีที่จะนำมาใช้สำหรับการเลือกผู้รับเหมา เพราะการเลือกผู้รับเหมานั้นไม่ได้ทำง่าย ๆ เหมือนการรีวิวสินค้า ต้องอาศัยผลงานที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด น่าเชื่อถือ ว่ามีฝีมือในการสร้างบ้านจริง ๆ ด้วยการสอบถามจากคนที่รู้จักไว้ใจได้ เพราะผลงานที่ดีจะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า จนกล้าที่จะบอกต่อให้คนอื่น ๆ เข้ามาจ้างงานเหมือนตัวเอง บอกเลยไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่าย ๆ


2.    มีสถานที่ตั้งเป็นหลักแหล่งเชื่อถือได้

การที่จะคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างที่เชื่อถือได้ สิ่งแรก คือ ต้องพิจารณาดูว่าบริษัทรับเหมามีที่อยู่ที่ยืนยันได้ หรือสำนักงานที่ตั้ง ระบุไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ นอกจากนั้น ต้องดูด้วยว่าสำนักงานที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่แค่เป็นเพิงสร้างง่าย ๆ ที่พร้อมจะรื้อถอนตลอดเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นระหว่างการก่อสร้าง เราก็สามารถที่จะติดตามมาแก้ไขปัญหาได้ หรือให้พิจารณาว่า สำนักงานรับเหมาก่อสร้างได้ผ่านการจดทะเบียนพาณิชย์ถูกต้องตามกฎหมายมาแล้วหรือยัง


3.    มีผลงานคุณภาพพร้อมโชว์ได้

หากว่าคุณไม่สามารถหาผู้แนะนำบริษัทรับเหมาก่อสร้างได้ ก็ต้องให้ผู้รับเหมาที่คุณเลือกมาโชว์ผลงานของตัวเอง เพราะผู้รับเหมาที่ซื่อสัตย์ ผลงานดี จะต้องกล้าพอนำผลงานของตัวเองขึ้นมาโชว์ และไม่มีช่องทางไหนที่จะดีที่สุดเท่ากับการพาไปดูสถานที่จริง ดังนั้น ลองให้ผู้รับเหมาที่เราสนใจพาไปเยี่ยมชมผลงานที่ผ่านมา หรือถ้าเจอลูกค้าเก่าด้วย ก็ลองขอให้เค้าแนะนำยืนยันคุณภาพงานดูว่าดีจริงหรือไม่


4.    อย่าเห็นแก่ของราคาถูก

ใคร ๆ ต่างก็ชอบของราคาถูกกันทั้งนั้น แต่สำหรับการก่อสร้างบ้าน ไม่ควรที่จะนำหลักการของดีราคาถูกมาใช้ เพราะทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีราคาของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นราคาค่าวัสดุก่อสร้าง ราคาค่าจ้างช่าง ต่างต้องมีมาตรฐานกลางเป็นตัวชี้วัด ซึ่งหลังจากที่คุณได้นำเสนอแบบก่อสร้างที่ผ่านการเซ็นต์รับรองจากวิศวกร หรือสถาปนิกมาแล้ว ลำดับถัดไป คือ การคัดเลือกให้ผู้รับเหมาเสนอราคาก่อสร้างมาให้ โดยพิจารณาจากราคาก่อสร้างที่ดูสมเหตุสมผลมากที่สุด บางครั้งราคาที่แพงเกินไปก็เป็นการค้ากำไรเกินควร หรือหากถูกเกินไปก็อาจจะใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพก็ได้


5.    ไม่ทำตัวเองให้ดูน่าเบื่อ

บางครั้งผู้รับเหมาก่อสร้างทิ้งงาน หรือยกเลิกสัญญาก่อนที่งานจะสำเร็จ ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะตัวเจ้าของบ้านเองที่มักทำตัวน่าเบื่อ จุ้นจ้าน เล่นบทเป็นสถาปนิก เปลี่ยนแบบบ้าน เปลี่ยนวัสดุก่อสร้างเองตามอำเภอใจ ชวนให้น่าเบื่อยิ่งนัก จริงอยู่ว่าบ้านของเรา ก็ต้องการสร้างให้ถูกใจตัวเองมากที่สุด แต่การจะทำให้บ้านเสร็จสมบูรณ์ เจ้าของบ้านก็ควรที่จะเตรียมพร้อมไว้ก่อนด้วยวิธี ดังนี้

-    ทำความเข้าใจในแบบบ้านของตัวเองก่อนตั้งแต่เริ่มทำแบบ หากมีส่วนไหนที่ไม่ถูกใจ ก็ควรแก้แต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการปรับแบบระหว่างการก่อสร้าง เพราะบางครั้ง อาจทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน เมื่อสร้างไปแล้วก็ต้องมานั่งปรับแต่งกันภายหลังไม่จบสิ้นเสียที

-    กำหนดสเปกวัสดุก่อสร้างตกลงกันให้ชัดเจนเสียก่อนว่า ส่วนไหนที่เจ้าของบ้านจะจัดหามาเอง หรือส่วนไหนที่ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างจัดหามาให้ เพราะหากไม่ตกลงกันไว้ก่อน เวลาที่เลือกวัสดุเจ้าของบ้านก็ย่อมต้องการวัสดุดีมีคุณภาพ สวยงามถูกใจ และป้องกันปัญหาคาใจว่ามีการหมดเม็ดเรื่องราคา ลดสเปกวัสดุก่อสร้างให้ถูกลงกว่าที่คุยกัน รวมทั้งไม่อยากให้งบก่อสร้างบานปลาย

-    อย่าพยายามทำตัวเป็นสถาปนิกเองด้วยการปรับแบบบ้านผิดเพี้ยนไปจากแบบที่ทางสถาปนิกมืออาชีพออกแบบให้ เพราะบางครั้ง อาจจะทำให้ผิดข้อกฎหมาย จนนำมาซึ่งปัญหาชวนปวดหัวกับผู้รับเหมา และยังอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ทั้งกับตัวเจ้าของบ้าน และผู้รับเหมาด้วยเช่นกัน

-    อย่าลืมเป็นนายจ้างที่ดีด้วยการจ่ายเงินค่าจ้างให้ตรงงวด เพราะผู้รับเหมาเมื่อได้รับเงินค่าจ้างไปแล้ว จะได้นำไปหมุนเวียนต่อ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าแรงให้กับลูกน้อง หรือจ่ายค่าวัสดุก่อสร้าง จำเอาไว้ว่าเงินดี งานเดิน ซื้อความสบายใจทั้งสองฝ่าย และห้ามให้ผู้รับเหมาเบิกเงินล่วงหน้า โดยไม่มีเหตุอันควรเด็ดขาด เพราะไม่อย่างนั้นงานนี้คุณจะเจอการหนีงานอย่างแน่นอน

   
แบ่งจ่ายเงินค่าจ้างเป็นงวด ๆ

เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะต่อให้สนิทเชื่อใจกันมากแค่ไหน ก็ไม่ควรจ่ายเงินค่าก่อสร้างไปก่อนเป็นก้อนเดียว หรือจ่ายหนัก ๆ เพราะอนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอนว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่ควรแบ่งจ่ายออกเป็นงวด ๆ ตามข้อสัญญาที่ทำไว้ร่วมกันจะดีกว่า โดยปกติแล้วการแบ่งงวดจ่ายตามผลงาน จะได้มีรายละเอียด ตามนี้

    งวดที่ 1: จ่ายก่อน 5-10% ของมูลค่างานทั้งหมด หลังจากเซ็นต์สัญญากับผู้รับเหมาไปแล้ว
    งวดที่ 2: จ่ายเมื่องานตอกเข็ม หรือขนย้ายเครื่องมือก่อสร้างเข้าพื้นที่
    งวดที่ 3: จ่ายเมื่องานตอหม้อ คานคอดิน เสาชั้นล่าง พื้นชั้นล่าง (หล่อในที่) เรียบร้อยแล้ว
    งวดที่ 4: จ่ายเมื่อได้งานคาน เสา พื้นชั้น 2 (หล่อในที่) เสาชั้นล่างเรียบร้อย
    งวดที่ 5: จ่ายเมื่อทำงานมุงหลังคา งานก่อสร้างอิฐทั้งหมดเสร็จเรียบร้อย
    งวดที่ 6: จ่ายเมื่อทำติดตั้งพวกวงกบ, ประตู-หน้าต่าง, ระบบไฟ, งานสุขาภิบาล และงานท่อร้อยสายเสร็จ
    งวดที่ 7: จ่ายเมื่อทำงานฉาบปูนทั้งภายใน ภายนอก งานฝ้าเพดานภายนอกเสร็จ
    งวดที่ 8: จ่ายเมื่องานฝ้าเพดานภายใน งานปูพื้น งานติดตั้งประตู-หน้าต่างทั้งหลัง และงานทาสีรองพื้นสำเร็จ
    งวดที่ 9: จ่ายเมื่อทำงานเกี่ยวกับสุขาภิบาลภายนอก งานติดตั้งพวกอุปกรณ์ไฟฟ้า สุขภัณฑ์ และงานทีสีจริงสำเร็จ
    งวดที่ 10 (สุดท้าย): จะจ่ายก็ต่อเมื่อผู้รับเหมาเคลียร์พื้นที่ ทำความสะอาด ขนขยะที่เกิดจากการก่อสร้าง และตรวจเช็คระบบต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว



รับสร้างบ้าน: “ผู้รับเหมา” เลือกอย่างไร? ไม่ให้โดนทิ้งงาน! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google