อาหารสายยาง อาหารปั่นผสม ที่เหมาะสมกับ “ผู้ป่วยเบาหวาน”อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง เป็นอาหารทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยม และการรองรับที่ใช้ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่ต้องรับประทานอาหารอ่อนๆ หลายโรงพยาบาลใช้อาหารปั่นผสมให้กับผู้ป่วย และผู้ป่วยก็มีความต้องการที่จะต้องรับประทานอาหารที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับโรคและการแพ้อาหาร หากผู้ป่วยมีโรคเบาหวาน อาหารปั่นผสมที่มีส่วนผสมของน้ำตาล หรือวัตถุดิบที่มีความหวานมากๆ อาจจะไม่เหมาะ เราต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความเหมาะสมเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการรับอาหารปั่นผสม เพราะถ้าหากอาหารปั่นผสมมีวัตถุดิบที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยและโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ก็อาจจะส่งผลเสียให้กับผู้ป่วยได้
อาหารปั่นผสม หรือ อาหารสายยาง ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ควรจะมีส่วนผสมจำพวกผัก รวมไปถึงผลไม้แต่ต้องดูความเหมาะสมและชนิดของผลไม้ ที่ไม่มีน้ำตาล หรือมีน้ำตาลน้อย เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ทั้งนี้ควรมีสัดส่วนที่พอเหมาะ ต้องมีแพทย์และนักโภชนาการควบคุมกระบวนการการผลิตทุกขั้นตอน จึงมั่นใจได้ว่า อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับ จะต้องมีความสะอาด ปลอดภัยและมีสัดส่วนของวัตถุดิบที่เหมาะสมกับผู้ป่วย รวมไปถึงอาหารปั่นผสมของทางเราผลิตและปรุงอาหารในห้องปลอดเชื้อของทางโรงพยาบาล เพื่อให้มีความสะอาดมากที่สุด ไร้สารปนเปื้อน และต้องมีสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ด้วย เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารแล้ว จะได้รับพลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมต่อร่างกายของผู้ป่วย
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลน้อย ไม่หวานมาก รวมถึงอาหารที่มีรสจัด ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะถ้าผู้ป่วยเบาหวานได้รับอาหารที่มีรสจัด หรืออาหารที่หวานมากๆ ก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการช็อคได้ รวมไปถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนไม่ว่า จะเป็นความดันสูง ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ เราจึงคำนึงถึงความปลอดภัยในการปรุงอาหารให้เข้ากับโรคของผู้ป่วยด้วย จึงการันตีได้ถึงความปลอดภัยและความสะอาดของอาหารปั่นผสม ว่าจะได้รับอาหารที่มีความสะอาดจริงๆ
ข้อควรระวังการบริหารยาทางสายให้อาหาร
การให้อาหารทางสายยาง เป็นการให้อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีระบบทางเดินอาหาร สามารถทำงานเป็นปกติ แต่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงต้องมีความจำเป็นที่จะให้ผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยาง โดยจะมีสองวิธีคือ ให้อาหารทางสายยางผ่านรูจมูก และการให้อาหารทางสายยาง โดยการเจาะบริเวณหน้าท้อง และสอดสายยางไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง ประโยชน์ในการให้อาหารทางสายยาง ก็คือ การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร และยังสร้างสมดุลและการทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ ในบางกรณีผู้ป่วยจะต้องให้ยาทางสายยางให้อาหาร ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะปัญหาที่จะพบได้บ่อยจากการบริหารยาผ่านทางสายยางให้อาหารคือ การอุดตันของสายยางให้อาหาร การเกิดพิษของยา การดูดซึมของยา และเสี่ยงในเรื่องของการติดเชื้อด้วย บางครั้งอาจจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงด้วย
สำหรับสิ่งที่ต้องคำนึงในเรื่องของการบริหารยาผ่านทางสายยางให้อาหาร ต้องตรวจสอบก่อนว่ายาสามารถบริหารผ่านทางสายยางได้ดีหรือไม่ ชนิดของสายยาง ตำแหน่งของสายยาง ตำแหน่งที่ยาออกฤทธิ์ หรือการดูดซึมของยา และที่สำคัญคือสูตรของอาหาร และที่สำคัญความสะอาดของอาหารที่ต้องให้กับผู้ป่วย จะมีความสะอาด ปลอดภัย เพื่อให้ผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยจะไม่มีอาการท้องเสีย หรืออาเจียน หรือเกิดภาวะแพ้อาหาร ซึ่งทางนักโภชนาการผู้ออกแบบสูตรอาหารจะต้องทราบข้อมูลประวัติการแพ้อาหารของผู้ป่วยด้วย เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นพิษแก่ผู้ป่วย หากผู้ป่วยเกิดอาหารแพ้อาหาร อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการช็อคได้ เนื่องจากแพ้อหารนั่นเอง
นอกจากนี้ ยาที่จะต้องให้ผู้ป่วย ก็ต้องตรวจสอบให้ดีว่าถูกต้องหรือไม่ และตัวยา สามารถให้ผู้ป่วยทางสายยางได้หรือไม่ เพราะยาบางชนิด ไม่เหมาะกับการบริหารยาทางสายยางให้อาหาร โดยเฉพาะยาที่ห้ามหัก ห้ามบด ห้ามเคี้ยว เพราะยาบางชนิดถูกออกแบบให้ผ่านกระเพาะอาหารไปปลดปล่อยและดูดซึมในลำไส้ เพื่อป้องกันการระคายเคืองวของกระเพาะอาหาร ป้องกันการถูกทำลายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร ยกตัวอย่างเช่น Enteric coating จะไม่สามารถถูกบดให้ละเอียดได้ แต่จะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งจะจับกลุ่มกันอีกครั้ง ถ้าสัมผัสความชื้นหรือน้ำ ทำให้เกิดการอุดตันของสายยางให้อาหาร ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาในปริมาณที่ต้องการ และอาจจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง